เป็นที่ทราบกันดีว่า ภายใต้ข้อตกลงปารีสซึ่งมุ่งเดินหน้าแก้ไขปัญหาโลกร้อนและวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ได้กำหนดไว้ว่า โลกต้องพยายามควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียสเหนือระดับยุคก่อนอุตสาหกรรม

ซึ่งหากทำไม่ได้ และภาวะโลกร้อนพุ่งเกิน 2 องศาเซลเซียส ก็จะทำให้ประชากรมนุษย์เสี่ยงต่อการเจอสภาพอากาศสุดขั้วร้ายแรงมากขึ้น และเพิ่มโอกาสที่โลกจะถึงจุดเปลี่ยนที่ไม่อาจย้อนกลับได้ เช่น การพังทลายของแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก และการตายของแนวปะการังจำนวนมาก

คนรวยบนโลกที่มีอยู่เพียง 1% สร้างมลพิษมากกว่าคนจนทั้งโลกรวมกัน

ภายในปี 2050 คนที่เสียชีวิตจากความร้อนจะเพิ่มขึ้น 5 เท่า

องค์การอวกาศยุโรปเตือนสถานการณ์น้ำแข็งขั้วโลกละลายเข้าขั้นวิกฤต

แต่ล่าสุด ซาแมนธา เบอร์เจสส์ รองผู้อำนวยการสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัส รายงานว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2023 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นเหนือเกณฑ์ในช่วงสั้น ๆ

นับเป็นครั้งแรกที่อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกร้อนกว่าระดับก่อนอุตสาหกรรมถึง 2 องศาเซลเซียส การร้อนเกินเกณฑ์เพียงชั่วคราวไม่ได้หมายความว่าโลกอยู่ในสภาวะร้อนเกิน 2 องศาเซลเซียสอย่างถาวร และยังไม่ได้ละเมิดข้อตกลงปารีส แต่มันก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกชัดเจนว่า โลกของเราร้อนขึ้นเรื่อย ๆ และกำลังเข้าสู่สถานการณ์ที่ยากหรือเป็นไปไม่ได้ที่จะแก้ไขปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

เบอร์เจสกล่าวว่า อุณหภูมิโลกเมื่อวันศุกร์สูงกว่าระดับในปี 1991-2020 อยู่ที่ 1.17 องศาเซลเซียส ทำให้เป็นวันที่อบอุ่นที่สุดเป็นประวัติการณ์ แต่เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม โลกอุ่นขึ้นถึง 2.06 องศาเซลเซียสคำพูดจาก ปั่นสล็อตแตกทุกเกม

เบอร์เจสส์ระบุว่า “นี่เป็นวันแรกที่อุณหภูมิโลกสูงกว่า 2 องศาเซลเซียสเหนือระดับยุคก่อนอุตสาหกรรมปี 1850-1900 โดยอยู่ที่ 2.06 องศาเซลเซียส”

เธอเสริมว่า “การที่อุณหภูมิโลกร้อนเกิน 2 องศาเซลเซียส 1 วัน ไม่ได้หมายความว่าข้อตกลงปารีสถูกละเมิด แต่เน้นย้ำว่าเรากำลังเข้าใกล้ขีดจำกัดที่ตกลงกันในระดับสากล เราคาดว่าจะเห็นความถี่ของวันที่ร้อนกว่า 1.5 องศาเซลเซียสและ 2 องศาเซลเซียสถี่ขึ้นในช่วงหลายเดือนและหลายปีข้างหน้า”

และเมื่อใดก็ตามที่ทุกวันบนโลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยเกิน 2 องศาเซลเซียส นั่นก็จะหมายถึง “หายนะ”

รายงานของสหประชาชาติที่เผยแพร่เมื่อวานนี้ (20 พ.ย.) แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าประเทศต่าง ๆ จะดำเนินการตามคำมั่นสัญญาในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบัน แต่โลกก็จะร้อนขึ้นระหว่าง 2.5-2.9 องศาเซลเซียสอยู่ดีในช่วงศตวรรษนี้

ริชาร์ด อัลลัน ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศที่มหาวิทยาลัยรีดดิงในสหราชอาณาจักร กล่าวถึงข้อมูลใหม่นี้ว่า เป็นการ “ตอกย้ำถึงความเร่งด่วนในการจัดการกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก”

ข้อมูลดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากมีรายงานว่า ช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เป็น 12 เดือนที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ และหนึ่งปีนี้เกิดเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว ซึ่งได้รับอิทธิพลจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เป็นจำนวนมาก เช่น ไฟไหม้ในฮาวาย น้ำท่วมในแอฟริกาเหนือ และพายุในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งทั้งหมดนี้คร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมาก

นักวิทยาศาสตร์เริ่มแสดงความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นเร็วเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้

ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานจำนวนมากที่ตรวจสอบสภาพภูมิอากาศโลกและการกระทำของมนุษย์เพื่อต่อสู้กับสภาพอากาศแสดงให้เห็นว่า โลกกำลังเข้าสู่ภาวะโลกร้อนในระดับที่เป็นอันตราย และไม่มีการดำเนินการเพียงพอที่จะบรรเทาวิกฤต

เรียบเรียงจาก CNN

ภาพจาก

Sakis MITROLIDIS / AFP

X: @OceanTerra

รู้วันโอนเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท พร้อมวิธีเช็กเข้าบัญชี

อัปเดต! ปฏิทินวันหยุด 2567 เช็กวันหยุดราชการ-วันหยุดธนาคาร

เช็กสถิติบอลไทย พบ สิงคโปร์ ก่อนดวลฟุตบอลโลก 2026 โซนเอเชีย